
Tijdelijke aanbieding
3 maanden voor € 1,00
Daarna € 9,99 / maandElk moment opzegbaar.
Alle afleveringen
190 afleveringen
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘คนรุ่นใหม่’ คือตัวแปรของโลก ไม่ว่าจะเป็นมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน รวมถึงทุกประเด็นที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน และอนาคต เครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ทั้งการพัฒนา โครงการต่างๆ เพื่อยกระดับคนภายในองค์กร และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับพื้นที่ระดับโลกอย่าง ‘One Young World’ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเวทีคนรุ่นใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2567 "One Young World Summit 2024” เครือซีพีฯ ส่งคนรุ่นใหม่ 20 คนของไทยไปร่วมทำกิจกรรมกับคนรุ่นใหม่จาก 196 ประเทศทั่วโลก ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในช่วงวันที่ 18 - 21 กันยายน 2567 โดยเป้าหมายการสร้างความร่วมมือผ่านความท้าทายทั้ง 5 ประเด็นซึ่งเป็นแนวคิดหลักของปีได้แก่ 1.Indigenous Voices เสียงของคนพื้นเมือง 2.The Climate and Ecological Crisis การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 3.Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI 4.Health Equality ความเท่าเทียมทางสุขภาพ 5.Peace สันติภาพของโลก สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า มีโอกาสพูดคุยกับ 2 ตัวแทน ‘ผู้นำแห่งอนาคต' ได้แก่ “นันทิช อัคนิวรรณ” (ปูน) จาก CP LAND และ “นวมลลิ์ เมธาทรงกิจ” (โบว์) จาก CP Axtra (Makro) “คนไม่รู้จักกันที่ภาษาและวัฒนธรรมต่างกันมารวมตัวกัน แต่สามารถพูดคุยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้ มันเป็นสิ่งที่พิเศษมาก ไม่ใช่ว่าจะมีโอกาสแบบนี้ได้ง่ายๆ บางคนอาจสื่อสารไม่เก่ง แต่ก็หาวิธีการให้สื่อสารได้” นันทิช อัคนิวรรณ (ปูน) จาก CP LAND กล่าว “ถ้าเราเป็นคนที่มองเห็นปัญหา และไม่อยากปล่อยปัญหาไปถึงคนรุ่นหลัง หรือทิ้งปัญหาให้เป็นภาระของคนรุ่นถัดไป One Young World คือเป็นโอกาสที่ดีมาก เป็นเน็ตเวิร์คที่หาไม่ได้จากที่ไหน มันคืองานที่รวมตัวคนจากทั่วโลกไว้ในสถานที่เดียว” นวมลลิ์ เมธาทรงกิจ (โบว์) จาก CP Axtra (Makro) กล่าว ‘ปูน’ และ ‘โบว์’ จะฉายภาพให้เห็นว่า หลังจากร่วม One Young World แล้ว คนรุ่นใหม่จะนำตัวเองไปอยู่ในสมการการพัฒนาโลกอย่างไร และนำองค์ความรู้ วิธีการ หรือไอเดียต่างๆ มาเปลี่ยนแปลงโลก ประเทศ หรือยกระดับองค์กรได้อย่างไรบ้าง คุณผู้ฟังสามารถ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ ‘นันทิช-นวมลลิ์’ 2 ตัวแทนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ เล่าพื้นที่เปลี่ยนโลก พลังคนรุ่นใหม่สร้างโลกยั่งยืน ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2024/11/one-young-world-cp-group-2024/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify

ท่ามกลางงบประมาณกว่า 8 แสนล้านบาทของทุกหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีจำนวนมากมาย ปฏิเสธไม่ได้ว่า การศึกษาไทยเต็มไปด้วยปัญหานานัปการ โดยเฉพาะมิติความเหลื่อมล้ำของครัวเรือนฐานะยากจน ซึ่งไม่มีหน่วยงานไหนสามารถแก้ปัญหาได้ ด้วยเหตุนี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. หน่วยงานด้านการศึกษาจัดตั้งขึ้นในปี 2561 เพื่ออุดช่องโหว่ด้านความเหลื่อมล้ำ โดยมีหัวเรือคือ “ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ-การเงินระดับประเทศ หันมาขับเคลื่อนประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ ดร.ประสาร ฉายภาพให้เห็นว่า ภารกิจของ กสศ. ประกอบด้วยการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ 3 มิติ คือ (1) ความเหลื่อมล้ำเชิงโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา (2) ความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพการศึกษา และ (3) ความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา ตลอด 6 ปี ของ กสศ. มีผลงานอะไรที่เป็นรูปธรรม ช่วยลดความเหลื่อมล้ำมากน้อยขนาดไหน ตลอดจนข้อค้นพบจากการทำงาน จนนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายและบทบาทการขับเคลื่อนถึงภาครัฐ อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ 6 ปี กสศ. กับ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” อุดความเหลื่อมล้ำผ่าน ‘ทุนเสมอภาค’ ต่อลมหายใจด้วย ‘Learn to Earn’ ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2024/04/6-years-of-equitable-education-fund/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify

“คุกมีไว้ขังคนจน” ภาพสะท้อนระบบยุติธรรมแบบไทยๆ ที่ได้ยินกันมาช้านาน ลามเป็นปัญหาลูกโซ่ “นักโทษล้นคุก” เพราะคุกไทยเต็มไปด้วยคนจน จากตัวเลขผู้ต้องราชทัณฑ์ เดือนเมษายน 2567 พบว่า คุกไทยมีผู้ต้องขังมากกว่า 280,000 คน อันดับ 8 ของโลก ขณะที่เรือนจำของประเทศไทยทั้งหมด 143 แห่งรองรับผู้ต้องขังได้ประมาณ 150,000 -160,000 คนเท่านั้น ขณะที่คนจน ที่กระทำความผิด มักถูกจับขังโดยไม่มีเงินประกันตัว และเรียกโดยภาษากฎหมายว่า ผู้ต้องขังระหว่าง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 59,000 คน คิดเป็น 20% ของผู้ต้องขังทั้งหมด เบื้องลึกของปัญหานักโทษล้นคุกเป็นอย่างไร ? “ผศ. ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนวิเคราะห์สาเหตุ สภาพปัญหา ทางออก ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนการเตือนสติ ‘กรมราชทัณฑ์’ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรม ให้ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง สามารถอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ จาก “นักโทษล้นคุก” ถึงวิกฤติหลักนิติธรรม กับ “ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2024/04/rule-of-law-crisis/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify

เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand-UNGCNT) และไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหนึ่งใน หน่วยธุรกิจหลักที่ก่อตั้งในปี 2563 ภายใต้บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า เออาร์วี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. โดยเป็นผู้บุกเบิกการนําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่องจักรด้วยตนเองผ่านอัลกอริทึ่มต่างๆ การประมวลผลภาพจากอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน การวิเคราะห์ระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ เเละแพลตฟอร์มการให้บริการในด้านต่างๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจในการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตร และป่าไม้อัจฉริยะอย่างครบวงจร เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยในการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจก ตาม เป้าหมาย SDG ข้อ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นายธราณิศ ประเสริฐศรี หัวหน้าทีมพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การดำเนินงานของวรุณาเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ส่วนที่สองคือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคการเกษตร สำหรับการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวนั้น ได้นำเทคโนโลยีของบริษัทมาใช้ ซึ่งมีส่วนช่วยให้โครงการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของแต่ละองค์กร แต่ละพื้นที่ สามารถติดตามได้ รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์หากมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น มีไฟป่า มีการรุกล้ำพื้น ทางด้านการใช้เทคโนโลยีในการช่วยเกษตรกร ได้นำนวัตกรรม แอปพลิเคชันคันนา (KANNA) มาช่วยบริหารจัดการแปลงเกษตรแบบครบวงจร ซึ่งเน้นไปที่การทำนาปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง ข้อมูลที่เกษตรกรรายงานและการตรวจเช็คที่เกิดขึ้นใน แอป KANNA จะทำให้วรุณานำมาใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการขอขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิต นายธราณิศบอกว่า ไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่การเกษตรจำนวนมาก หากใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็จะเป็นการยกระดับภาคเกษตร และสามารถช่วยลดอุณหภูมิโลกได้ด้วย อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ในหัวข้อ กลุ่มปตท. – วรุณาชูเทคโนโลยี AI ลดโลกร้อน บริหารจัดการพื้นที่สีเขียว ขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืนได้ ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-varuna-drives-sustainable-agriculture-environment-with-ai-technology/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #WeShiftWorldChange #UNGCNT #Varuna #PTT

เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)กับไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ในห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุด และมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค และยังเป็นตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจที่ก้าวข้ามเปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมหรือฟอสซิสไปสู่พลังงานสะอาด โดยให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่“การพัฒนาที่ยั่งยืน” และก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ คุณ วรพจน์ อุชุไพบูลย์วงศ์ กรรมการบริหาร บริษัทซีเค พาวเวอร์ จำกัด(มหาชน) บอกว่า ซีเค พาวเวอร์ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงทางพลังงานหมุนเวียนให้กับประเทศ โดยมีการดำเนินธุรกิจตามแนวหลักความยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของสังคม สิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลที่ดี ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ชัดเจน คือ “ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี” ที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภทน้ำไหลผ่าน ที่ทันสมัย ปล่อยให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าโรงไฟฟ้าเท่ากับปริมาณที่ไหลออกตลอดเวลา อาศัยอัตราการไหลของน้ำในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่มีการกักเก็บน้ำ ไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการไหลของน้ำตามธรรมชาติ อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาค นั่นคือ ระบบทางปลาผ่านแบบผสม ที่เริ่มจากการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนาโครงการ เพื่อความเข้าใจเชิงลึกต่อวงจรชีวิตของปลาและพฤติกรรมการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง รวมทั้งลักษณะทางกายภาพและชนิดพันธุ์ของปลาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ระบบทางปลาผ่านแบบผสมนี้สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการอพยพของปลาทุกสายพันธุ์ในแม่น้ำโขงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี เป็นโรงไฟฟ้าแรกที่ได้ออกแบบประตูระบายตะกอนให้กดระดับลงไปเท่ากับระดับท้องน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่า ตะกอนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถไหลผ่านโรงไฟฟ้าไปยังท้ายน้ำได้เหมือนเดิมตามธรรมชาติ และที่สำคัญได้สร้าง “ช่องทางเดินเรือสัญจร เพื่อให้การสัญจรทางเรือของชาวบ้านผ่านโรงไฟฟ้าฯ สามารถสัญจรได้อย่างสะดวกตลอดทั้งปี CKPower สามารถผลิตไฟฟ้าสะอาดส่งให้ประเทศไทยได้ 9,500,000 เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็น 5% ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้ประเทศไทย และสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และมุ่งมั่นผลักดันสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ NET ZERO ภายในปี 2065 ตามเป้าที่รัฐบาลกำหนด อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม "ซีเค พาวเวอร์ หนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ" ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า https://thaipublica.org/2023/12/we-shift-world-change-ck-power-supports-energy-transitioning-to-a-low-carbon-society/ อย่าลืม Subscribe กดติดตาม ที่ช่องทาง Facebook,Youtube, Soundcloud, Apple Podcast,Google Podcast,Spotify #WeShiftWorldChange #UNGCNT #CKPower
Tijdelijke aanbieding
3 maanden voor € 1,00
Daarna € 9,99 / maandElk moment opzegbaar.
Exclusieve podcasts
Advertentievrij
Gratis podcasts
Luisterboeken
20 uur / maand